10 เทคนิคในการเปิดฟิตเนสให้ได้กำไร และ ประสบความสำเร็จ

สารบัญ

1    เริ่มต้น ธุรกิจฟิตเนส (Fitness) ทำอย่างไร ? เริ่มต้น ธุรกิจฟิตเนส (Fitness) เตรียมพร้อมอย่างไร?

2 ธุรกิจ Fitness รายได้ดีไหม ? มีรายจ่ายอะไรบ้าง? กลุ่มลูกค้าของธุรกิจ Fitness เป็นอย่างไร ?

3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและที่ตั้งฟิตเนส

4 การวิเคราะห์ปัจจัยต่างต่างในการเปิดฟิตเนส

4.1การวิเคราะห์พื้นที่ฟิตเนสและสิ่งอำนวยความสะดวกรอบโครงการ

4.2 การออกแบบฟิตเนส

4.2.1 ขนาดของยิมและพื้นที่ออกกำลังกาย

4.2.2 พื้นและเพดาน

4.2.3 พื้นที่เก็บของและล็อคเกอร์

4.2.3 งานระบบภายใน

5 อุปกรณ์ออกกำลังกาย

5.1 เครื่องออกกำลังกายสำหรับคาร์ดิโอ เช่น ลู่วิ่ง เครื่องเดินวงรี จักรยาน

5.2 เครื่องออกกำลังกายสำหรับสร้างกล้ามเนื้อ (strength machine)

5.3 อุปกรณ์ออกกำลังกายแบบอิสระ(Free weight) หรือ ฟังก์ชั่นนอล Functional

6 การฝึกอบรมพนักงานฟิตเนส

7 การใช้ซอฟแวร์(Software)หรือโปรแกรมจัดการบริหารฟิตเนสทั้งทางด้านการบริหารสมาชิกและบัญชี

8.ใบอนุญาตและข้อกฎหมายต่างต่าง

9.การวางแผนการตลาดของฟิตเนส

10.การทดสอบระบบทั้งหมดก่อนเปิดฟิตเนสจริง

 

[ps2id id=’sec1′ target=”/]

1    เริ่มต้น ธุรกิจฟิตเนส (Fitness) ทำอย่างไร ? เริ่มต้น ธุรกิจฟิตเนส (Fitness) เตรียมพร้อมอย่างไร?

การที่เราจะเริ่มต้นธุรกิจฟิตเนส(Fitness) เราควรเริ่มสำรวจที่ตัวเราก่อนในการเริ่มเปิดยิม เพราะคนที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจฟิตเนส (Fitness) ได้ นั้นจะต้องรัก,มีหลงใหล(passion)และมีความรู้ ในการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพอย่างแท้จริง เพราะการที่เราจะทำให้ได้ดีในธุรกิจเราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่เราทำและทำตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเราได้ดี เมื่อลูกค้าของเราชอบในสิ่งที่เราบริการก็จะมีการบอกต่อและเราก็จะได้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เช่น การเลือกเครื่องออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ, การคัดเลือกคนที่จะมาเป็นเทรนเนอร์, การเลือกทำเล(Location) ,วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและพฤติกรรม( Customer Behavier)

 

1.1 Check lists ในการเตรียมพร้อมกับธุรกิจฟิตเนส(Fitness)

 

  • มีความหลงใหลในการออกกำลังกายและการรักษาสุขภาพ
  • มีเวลามาดูแล หรือมีคนที่จะจัดการบริหารงานฟิตเนส
  • มีทักษะบริหารจัดการคนที่ดี
  • เข้าใจรายได้และค่าใช้จ่ายของธุรกิจ พร้อมกับความรู้ด้านการทำบัญชี
  • มีพื้นฐานด้านการตลาด
  • เข้าใจความต้องการของลูกค้า
  • มีทีมงานในการบริหารและเทรนเนอร์(trainer)

[ps2id id=’sec2′ target=”/]

2 ธุรกิจ Fitness รายได้ดีไหม ? มีรายจ่ายอะไรบ้าง? กลุ่มลูกค้าของธุรกิจ Fitness เป็นอย่างไร ?

ลูกค้าที่เข้ามาที่ฟิตเนสมาเพื่อออกกำลังกาย แต่จุดประสงค์และเป้าหมายของพวกเขาก็จะแตกต่างกันไป เช่น บางคนออกกำลังกายเพียงเพื่อลดน้ำหนักอย่างเดียว บางคนต้องการที่จะได้รูปร่างที่ดี บางคนอาจต้องการเพียงสุขภาพที่ดีและหาสังคม  และบางคนต้องการเทรนเนอร์ส่วนตัวเพื่อผลักดันพวกเขาให้ถึงเป้าหมาย

แต่ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าแบบไหน เจ้าของกิจการต้องตอบโจทย์เป้าหมายพวกเขามากที่สุด เพื่อที่สุดท้ายพวกเขาจะรักการออกกำลังกาย และตกลงสมัครสมาชิกกับเราในระยะยาว เป็นการสร้างรายได้ของฟิตเนสในระยะยาว

ใบบางกรณีลูกค้าบางคน จะเข้ามาสมัครสมาชิก และหลังจากนั้นไม่นานก็ต้องการจะยกเลิกสมาชิก อย่างเช่น คนที่ออกกำลังกายตามเทรนด์ ตามเพื่อน หรือแค่อยากมาทดลองเล่นเท่านั้น แต่ ฟิตเนส ส่วนใหญ่มักแก้ปัญหาด้วยการ คิดค่าธรรมเนียมเมื่อมีการยกเลิก กำหนดราคาแบบรายวัน หรือ คิดค่าแรกเข้า เพื่อป้องกันการยกเลิก

ธุรกิจ ฟิตเนส (Fitness) ได้เงินจากทางไหนบ้าง ?

รายได้คนส่วนมากมักคิดว่ามาจากค่าสมัครสมาชิกรายปี รายเดือน หรือ รายวัน แต่รายได้สำหรับฟิตเนสไม่ได้มีเพียงแค่นั้น แต่ฟิตเนสยังสามารถทำเงินด้วย บริการเอื่นๆได้ อย่างเช่น

คลาสพิเศษต่างๆ

 

  • คลาสปั่นจักรยาน(Spin Bike)
  • คลาสคาร์ดิโอ (Cardio)
  • คลาสฟังก์ชั่นนอล (Functional)
  • คลาสพิลาทิส(Pilates)
  • เต้นรำ (Dance Class)
  • ครอสฟิต (Crossfit)
  • แอโรบิค (Aerobic Class)
  • เซอร์กิต (Circuit Training)
  • มวยไทย (Thai Boxing)
  • โยคะ (Yoga)
  • การฝึกทักษะป้องกันตัวยูโด

 

โดยอาจจะเรียกเก็บลูกค้าเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือเหมารวมกับค่าสมาชิกไปเลยก็ได้

 

สินค้าและบริการเสริม

  • เทรนเนอร์ส่วนตัว
  • บริการพื้นที่เช่าล็อคเกอร์
  • บาร์อาหารและเครื่องดื่ม
  • ซาวน่า
  • อาหารเสริม
  • ตารางโภชนาการ

ธุรกิจฟิตเนส (Fitness) นั้นไม่ได้มีรายได้อย่างอื่นนอกจากค่าสมัครสมาชิก เพราะทั้งนี้ ธุรกิจสามารถทำเงินได้จากช่องทางอื่นๆ ที่ได้ยกตัวอย่างไป ซึ่งในบางครั้งช่องทางเหล่านี้อาจจะมีสัดส่วนรายได้เท่ากับ หรือมากกว่าช่องทางหลักอย่าง ค่าสมัครสมาชิก

[ps2id id=’sec3′ target=”/]

3 ต้องใช้เงินเท่าไหร่ในการเปิดฟิตเนส ?

ถ้าถามว่าต้องใช้เงินจำนวนเท่าไหร่ในการเปิดฟิตเนส(Fitness) การที่จะตอบคำถามต้องคำนึงปัจจัยต่าง เช่น ขนาดของยิม จำนวนคนที่รองรับ ตัวอย่างเช่น โรงยิมขนาดเล็ก รับรองคนได้ประมาณ 10-20 คน หรือฟิตเนสขนาดใหญ่ ที่รับรองคนได้มากกว่า 100 คน พร้อมแยกห้องสตูดิโอสำหรับคลาสต่างต่าง เช่น คลาโยคะ คลาสบอดี้คอมแบท คลาสปั่นจักรยาน

การประมาณการได้ว่า คุณจะต้องลงทุนกับปัจจัยไหนเยอะ หรือปัจจัยไหนที่น้อย เช่น ถ้าคุณต้องการเปิดฟิตเนส ขนาดใหญ่ นั่นแปลว่าคุณก็ต้องใช้เงินจำนวนเยอะเพื่อลงทุนกับสถานที่และทำเล

[ps2id id=’sec4′ target=”/]

4 การวิเคราะห์ปัจจัยต่างต่างในการเปิดฟิตเนส

เมื่อต้องการเปิดฟิตเนส มีปัจจัยหลายประการเพื่อไปสู่เป้าหมายของการเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

4.1การวิเคราะห์พื้นที่ฟิตเนสและสิ่งอำนวยความสะดวกรอบโครงการ – เราจะต้องศึกษาพื้นที่ที่เราจะเปิดฟิตเนส รวมถึงว่าเราจะเช่าหรือจะซื้อ นอกจากที่คุณจะต้องมีที่ไว้สำหรับการเวทเทรนนิ่ง และคาร์ดิโอแล้ว คุณต้องสำรองที่ไว้สำหรับพื้นที่สำหรับอำนวยความสะดวกอื่นๆด้วย เช่น ส่วนต้อนรับ ห้องอาบน้ำ ล็อกเกอร์ หรือซาวน่า

4.1.1 การศึกษาที่ตั้งของฟิตเนส

การศึกษาที่ตั้งของฟิตเนส โดยศึกษาจากผังเมืองฟรือข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละพื้นที่มีข้อกกำหนดอย่างไรตามกฎหมาย รวมถึงกฎบังคับในการก่อสร้างอาคาร เพราะการยื่นขออนุญาติก่อสร้างอาคารและการเปิดใช้อาคารต้องทำตามกฏหมาย

  • การศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวกรอบฟิตเนส

เราจะต้องศึกษาว่าพื้นที่ดินที่เราจะสร้างมีทำเลไหนและสิ่งอนวยความสะดวกอะไรรอบโครงการ

4.1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและที่ตั้งโครงการ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ในการสร้างฟิตเนส

  • บริเวณชุมชนโดยรอบ
  • ระดับพื้นดิน
  • มลพิษทางเสียงหรือเงีบยสงบ
  • สภาพอากาศ
  • ทิศทางลม
  • แสงแดด
  • อาคารข้างเคียง

4.2 การออกแบบฟิตเนส

ก่อนอื่นเราควรศึกษาเพื่อแบ่งส่วนพื่นที่ต่างต่างเพื่อกำหนดการใช้พื้นที่ต่างต่างในฟิตเนส

  • พื้นที่สาธารณะ
  • พื้นที่กึ่งสาธารณะ
  • พื้นที่ส่วนตัว
  • พื้นที่ส่วนบริการ

 

เพราะฉะนั้นก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกสถานที่ แนะนำให้คุณวางแผนผังและทำการสำรวจพื้นที่และทำเลให้ดีก่อน เพื่อที่คุณจะได้สถานที่ที่คุ้มค่าต่อเงินลงทุนและตอบโจทย์กับ ฟิตเนส มากที่สุด

4.2.1 ขนาดของยิมและพื้นที่ออกกำลังกาย

เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการได้ความพอใจสูงสุด และเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่นความแออัดจากการใช้งาน และเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า

4.2.2 พื้นและเพดาน

นอกเหนือจากความสวยงาม ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงความปภอดภัยและประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย โดยเลือกพื้นที่มีความมั่นคงและสามารถรองรับแรงกระแทกและน้ำหนักจากเครื่องออกกำลังกายประเภทต่างต่าง

4.2.3 พื้นที่เก็บของและล็อคเกอร์

พื้นที่เก็บของหมายถึงพื้นที่การจัดวางเพื่อบริการลูกค้าเพื่อให้บริการ และพื้นที่เก็บของส่วนตัว เพราะพื้นที่เก็บของที่เพียงพอจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ฟิตเนสของคุณปลอดภัยและสวยงาม การจัดการพื้นที่เก็บของที่ดีจะทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น

4.2.3 งานระบบภายใน

ควรคำนึงถึงเรื่องเสียง ระบบระบายอากาศ อุณหภูมิ และ ระบบไฟ เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

 

[ps2id id=’sec5′ target=”/]

5 อุปกรณ์ออกกำลังกาย

อุปกรณ์ออกกำลังกาย หรือเครื่องออกกำลังกายควรเตรียมพร้อมให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า โดยอุปกรณ์สามารถแบ่งออกเป็น

5.1 เครื่องออกกำลังกายสำหรับคาร์ดิโอ เช่น ลู่วิ่ง เครื่องเดินวงรี จักรยาน

อุปกรณ์สำหรับการคาร์ดิโอ เช่น  Treadmill (ลู่วิ่งไฟฟ้า) , Stationary Bike (เครื่องปั่นจักรยาน) หรือ Elliptical เป็นต้น

5.2 เครื่องออกกำลังกายสำหรับสร้างกล้ามเนื้อ (strength machine)

พวกเครื่องออกกำลังเน้นสร้างกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน (Isolation machine) เช่น เครื่องเล่นสำหรับท่าLeg Press,Leg extension, Smith machine, Cable Cross, Chest fly หรือ Bicep curl

5.3 อุปกรณ์ออกกำลังกายแบบอิสระ(Free weight) หรือ ฟังก์ชั่นนอล Functional

อุปกรณ์ฟรีเวทเบื้องต้น เช่น Dumbells set (เซ็ตดัมเบล)  , Weight bar (บาร์สำหรับเวทเทรนนิ่ง) , Power rack (แร็คยกน้ำหนัก) , เชือก, ลูกบอล(medicine ball) เป็นต้น

สัดส่วนและจำนวนของอุปกรณ์ภายในฟิตเนส ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบและกลุ่มเป้าหมายของฟิตเนส

 

สำหรับ ฟิตเนส ส่วนใหญ่ อุปกรณ์ออกกำลังกายเป็นปัจจัยที่ถูกให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นที่รู้กันว่า ลูกค้านั้นต้องการอุปกรณ์ที่ ใหม่ และหลากหลาย โดยในมุมของผู้ประกอบการเองเราก็จำเป็นเลือกหาอุปกรณ์ที่มีราคาคุ้มค่าทั้งในเรื่องของราคา คุณภาพ และควรมีอายุการรับประกันเกิน 1 ปี

 

ทั้งนี้ที่ Advance iFitnessเรามีอุปกรณ์ออกกำลังกายคุณภาพให้เลือกมากมาย พร้อมอายุรับประกันสินค้าถึง 1 ปี และทีมตรวจเช็คอุปกรณทุกๆ 6 เดือน และมีบริการหลังการขายโดยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะมีอะไหล่พร้อมสำหรับการดูแลเครื่อง

[ps2id id=’sec6′ target=”/]

6 การฝึกอบรมพนักงานฟิตเนส

สิ่งสำคัญคือพนักงานต้องมีความรู้ด้านการออกกำลังกายและมีการบริการที่ดีต่อลูกค้า ซึ่งพนักงานต้องสามารถให้คำแนะนำเรื่องท่าออกกำลังกายและโภชนาการที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ และพนักงานควรมีการจัดการอบรมเป็นประจำเพื่อรักษาความรู้ และกระตุ้นให้พนักงานามีความกระตือรือร้นในการทำงาน

[ps2id id=’sec7′ target=”/]

7 การใช้ซอฟแวร์(Software)หรือโปรแกรมจัดการบริหารฟิตเนสทั้งทางด้านการบริหารสมาชิกและบัญชี

ในการจัดการระบบสมาชิก ถ้าฟิตเนสของเราไม่ใหญ่มากมีสมาชิกไม่ถึง 30 คน เราอาจจะไม่ต้องใช้ซอฟแวร์ในการจัดการระบบสมาชิก แต่ถ้าสมาชิกของเราเริ่มมีจำนวนมากเช่นเกิน 100 คน เราควรมีระบบซอฟแวร์ในการจัดการระบบสมาชิก อีกทั้งระบบการรักษาความปลอดภัยต่างต่าง ทั้งทาง Advance IFitness มีบริการครบวงจรสามารถขอรับคำปรึกษาได้ฟรี

[ps2id id=’sec8′ target=”/]

8.ใบอนุญาตและข้อกฎหมายต่างต่าง

การที่คุณจะประกอบธุรกิจฟิตเนส( Fitness) ควรตรวจสอบว่ามีใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หรือ ใบอนุญาตการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพและความปลอดภัย เรียบร้อยแล้ว ถ้าเป็นที่กรุงเทพมหานคร ไปติดต่อที่ กรมสบส. (สนับสนุนบริการสุขภาพ)  ส่วนผู้ให้บริการ ก็ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบรับรองคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาที่กรมสบส.

ข้อกฎหมายต่างต่างเช่น ภาษีป้าย ภาษีที่ดิน  ภาษีรายได้ ในเรื่องภาษีรายได้ เราควรศึกษาเราจะเปิดในรูปแบบไหนบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน หรือนิติบุคคล เราควรศึกษาเรื่องภาษีเพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง

[ps2id id=’sec9′ target=”/]

9.การวางแผนการตลาด

พอเราศึกษาข้ออื่นแล้ว มาถึงขั้นตอนนี้สิ่งที่ต้องดำเนินการคือ การวางแผนด้านการตลาดซึ่งจำเป็นต้องวางแผนทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ไปพร้อมกัน และที่สำคัญมาก ส่วนมากมักทำการตลาดแบบไม่เป็นระบบ ขาดการวางแผน และจัดสรรงบ ควรวางแผนการตลาดทั้งด้านออฟไลน์สื่อหน้าร้านเช่นป้าย และ  ด้านการตลาดออนไลน์จะสื่อสารรูปแบบไหนบ้างในแต่ละเดือน เช่น ลงโฆษณาทาง เฟซบุค กูเกิ้ล อินสตาแกรม ไลน์ เป็นต้น หรือจะจ้างบล็อกเกอร์เจ้าไหนมารีวิว จัดโปรโมชั่นอย่างไร ทำสื่อโพสต์รูปแบบไหน ช่องทางไหน ช่วงเวลาไหน เหล่านี้ต้องทำออกมาเป็นแผนประจำวัน ประจำเดือน และประจำปี เพื่อจะได้จัดงบประมาณ และจัดโปรโมชั่นรองรับ

[ps2id id=’sec10′ target=”/]

10.การทดสอบระบบทั้งหมดก่อนเปิดฟิตเนสจริง

ก่อนจะเปิดให้บริการต้อนรับลูกค้า จำเป็นจะต้องมีการ ทดสอบระบบต่าง ๆ ภายฟิตเนส ก่อนจะเปิดให้บริการจริง” การทดสอบความพร้อมก่อนเปิดขายจริงนั้น จะต้องทำทุกอย่างเหมือนเปิดร้านจริง ๆ  เพียงแต่จะเปลี่ยนจากลูกค้าจริง เป็นการเชิญคนรู้จัก เช่น เพื่อน ญาติ เข้ามาใช้บริการในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อจะได้ตรวจสอบระบบต่าง ๆ ภายในฟิตเนส ว่ามีอะไรที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ตั้งไว้บ้างมีอะไรที่จะต้องปรับปรุง พัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้การบริการไม่สะดุด เพราะการบริการลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าพนักงานของเราสามารถให้ความรู้และบริการจนกระทั่งลูกค้าประทับใจ โอกาสในการปิดการขายก็มากขึ้น

 

 

สรุป

ธุรกิจฟิตเนสเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ เพราะเป็นธุรกิจที่ทำให้คนสุขภาพดี ซึ่งอยู่ในกระแสของสังคม แต่การที่จะเปิดฟิตเนสควรเตรียมพร้อมตั้งแต่ก่อนเปิด การเตรียมพร้อมที่ดีที่สุดคือการหาข้อมูล ลูกค้าสามารถติดต่อรับข้อมูลและปรึกษาได้ที่

Advance iFitness

เบอร์โทรบริษัท 092-515-1267

หรือโชว์รูม 086-733-3302

แผนที่โชว์รูม

https://goo.gl/maps/ZcbEdsiKmKKQmzmQ7